• เลขที่ 77/1-6 ถนน บรมราชชนนี แขวง อรุณอมรินทร์ เขต บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
  • สาขาปิ่นเกล้า 02-434-3214

ข้อมูลแนะนำการเข้ารับบริการ

เมื่อไหร่ที่ต้องเช็กสภาพรถตามระยะ

การเช็กรถยนต์ตามระยะเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้กำหนดไว้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ

ทุก 6 เดือน หรือ 10,000 กิโลเมตร แล้วแต่ระยะใดระยะหนึ่งถึงก่อน

  • ระยะเวลา (นับตั้งแต่วันที่ออกรถ)
  • ระยะทาง  (นับระยะทางที่วิ่งใช้งานแล้ว)

การรับประกันคุณภาพ

ระยะเวลาการรับประกันรถยนต์มิตซูบิชิ

  • ภายในระยะเวลา 5 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ระยะหนึ่งระยะใดจะถึงก่อน)

รายการชิ้นส่วนที่มีการรับประกันแตกต่างจากการรับประกันทั่วไป

  • วิทยุ จอภาพ และสายสัญญาณ ระยะเวลารับประกัน 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ระยะหนึ่งระยะใดจะถึงก่อน)
  • ยางรถยนต์ ระยะเวลารับประกัน 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ระยะหนึ่งระยะใดจะถึงก่อน)
  • แบตเตอรี่ ระยะเวลารับประกัน 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ระยะหนึ่งระยะใดจะถึงก่อน)

*กรุณาศึกษาเงื่อนไขการรับประกันอื่นๆ เพิ่มเติม จากรายละเอียดคู่มือประจำรถ

ความเสียหายและสภาวะการณ์ที่อยู่นอกเหนือการรับประกัน

  • เช่น รถที่มีการดัดแปลง และติดตั้งอุปกรณ์ เพิ่มเติมที่ไม่ได้รับรอง โดย บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด

แอพลิเคชั่น M-DRIVE

แอพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นตัวช่วยในการดูแลรถของคุณ ผ่านช่องทางที่รวดเร็วในการค้นหาผู้จำหน่าย หรือตรวจสอบสถานะในการเข้าบริการ รวมถึงการอัพเดทข้อมูลข่าวสารต่างๆ จาก มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ถึงลูกค้าทุกท่าน

Feature

– ข้อมูลรถ : ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลผู้ใช้งาน และประวัติการเข้ารับบริการ

– การบำรุงรักษา : ด้วยระบบการค้นหาผู้จำหน่ายที่หลากหลาย ให้คุณพบกับผู้จำหน่ายที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด สามารถนัดหมายเพื่อเข้ารับบริการได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนสามารถจัดการนัดหมายด้วยตัวคุณเองผ่านแอพลิเคชั่น รวมไปถึงตรวจสอบสถานะและค่าใช้จ่ายโดยประมาณจากการเข้ารับบริการได้

– บริการลูกค้า : เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารกับ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

– ข่าวสาร : อัพเดทข้อมูลโปรโมชั่น ข่าวสารการจราจร ได้ง่ายๆภายในแอพลิเคชั่น

ข้อแนะนำในการดูแลรักษา

ก่อนออกใช้งานรถยนต์ทุกครั้ง ผู้ขับขี่ต้องตรวจสอบสภาพก่อนการใช้งานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และ ความเสียหายซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากสภาพของรถยนต์ โดยผู้ขับขี่จะต้องตรวจสภาพ รถยนต์ในเรื่องต่างๆ ดังนี้

การตรวจสอบสภาพรถก่อนการใช้งานโดยผู้ใช้รถยนต์

  1. เดินรอบๆตัวรถ เพื่อตรวจดูสภาพตัวถังภายนอก, การเอียงของตัวรถและสภาพยางว่าไม่มีสิ่งผิดปกติ
  2. เปิดฝากระโปรงเพื่อตรวจระดับน้ำมันเครื่อง, ตรวจระดับน้ำในถังพักน้ำ,ตรวจระดับน้ำมันเบรค และคลัตซ์, ตรวจระดับน้ำกรดแบตเตอรี่ และ สภาพขั้วแบตเตอรี่, ตรวจรอยรั่วซึมและรอยคราบ ของน้ำมันและน้ำภายในห้องเครื่องยนต์ และ ใต้ท้องรถ
  3. เปิดสวิตซ์กุญแจแล้วตรวจสอบไฟเตือนบน หน้าปัทม์ว่าติดครบถ้วน จากนั้นติดเครื่องยนต์ แล้วตรวจไฟต่างๆดับอย่างถูกต้อง, ตรวจระดับน้ำมันเชื้อเพลิง และอุณหภูมิของเครื่องยนต์, ตรวจระยะฟรีการทำงานของเบรก, คลัทช์,พวงมาลัยและเบรกมือ, ตรวจฟังเสียงผิดปกติของเครื่องยนต์

การใช้รถอย่างประหยัด

  1. น้ำหนักบรรทุกหรือสัมภาระต่างๆที่ไม่จำเป็นให้เอาออกจากรถ จะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้
  2. เติมแรงดันลมยางให้ถูกต้องตามที่บริษัทรถยนต์กำหนด แรงดันน้อยเกินไปทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้น
  3. การใช้ความเร็ว ยิ่งใช้ความเร็วสูงยิ่งสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น ความเร็วที่ประหยัด คือ 60 – 90 กม./ชม.
  4. วางแผนการเดินทางให้ถูกต้อง สำรวจเส้นทางการจราจรช่วยให้ประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น

ข้อปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน

  1. เมื่อแบตเตอรี่ไฟหมด

เมื่อแบตเตอรี่ไฟหมดไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ โดยปกติแบตเตอรี่ที่ติดอยู่กับรถจะมีไฟเต็มเสมอ เพราะเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ระบบชาร์จไฟของรถยนต์จะควบคุมการชาร์ตไฟให้กับแบตเตอรี่ แต่ถ้าหากเราจอดรถไว้โดยหลงลืมเปิดอุปกรณไฟฟ้าทิ้งไว้ ไฟในแบตเตอรี่ก็จะลดน้อยลงจนกระทั่งไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ สามารถแก้ไขได้ ดังนี้

1.1 กรณีรถยนต์เป็นแบบใช้เกียร์ธรรมดา การเข็นเพื่อติดเครื่องยนต์ ควรใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น โดยการเปิดสวิตซ์กุญแจไว้ที่ตำแหน่ง ON เหยียบคลัทช์ แล้วเข้าเกียร์ 2 หรือ เกียร์ 3 เหยียบคลัตช์ค้างเอาไว้ ในขณะที่ให้คนช่วยเข็นรถจนกระทั่งมีความเร็วพอสมควร จากนั้นให้ค่อยๆปล่อยคลัทช์ที่เหยียบไว้ เครื่องยนต์จะถูกขับให้หมุนจนเครื่องยนต์ติดได้ จากนั้นควรเร่งเครื่องยนต์ไว้เล็กน้อยประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้ระบบชาร์จไฟของรถชาร์จไฟเข้าสู่แบตเตอรี่ จากนั้นนำรถเข้ารับการตรวจเช็คที่ศูนย์บริการมิตซูบิชิเพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไป

1.2 การพ่วงแบตเตอรี่จากรถคันอื่น ให้ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดของรถทั้งสองคัน จากนั้นใช้สายต่อพ่วงแบตเตอรี่ ขั้วบวก (สีแดง) เข้ากับขั้วบอกของแบตเตอรี่รถยนต์ทั้ง 2 คัน จากนั้นคีบสายพ่วงแบตเตอรี่ขั้วลบ (สีดำ) เข้ากับขั้วแบตเตอรี่ของรถที่ต้องการสตาร์ท ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งคีบปลายสายกับเสื้อสูบของรถยนต์ที่มีแบตเตอรี่เต็ม โดยให้ห่างจากแบตเตอรี่มากที่สุด จากนั้นติดเครื่องยนต์กับรถคันที่แบตเตอรี่มีไฟเต็มก่อนแล้วปล่อยเครื่อยนต์ให้เดินเบาไว้สักครู่ จากนั้นจึงทำการสตาร์ทรถคันที่แบตเตอรี่ไฟหมด หลังจากเครื่องยนต์สตาร์ทติดแล้วการถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ ให้ถอดสายขั้วลบ(สีดำ)กับกับเสื้อสูบออกก่อนเป็นอันดับแรก

หมายเหตุ การต่อสายขั้วแบตเตอรี่สลับขั้วกัน จะเกิดการช็อต และเกิดประกายไฟอย่างรุนแรงหรืออาจเกิดการระเบิดขึ้นได้ เราจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการต่อสายพ่วงแบตเตอรี่

1.3 การนำแบตเตอรี่ไปชาร์จไฟใหม่ ให้ทำการถอดขั้วแบตเตอรี่ขั้วลบและบวก ตามลำดับออก แล้วนำแบตเตอรี่ไปรับการตรวจเช็คที่ร้านแบตเตอรี่ก่อนนำมาติดตั้ง การติดตั้งให้ติดตั้งขั้วบวก (สีแดง) และขั้วลบ (สีดำ) ตามลำดับ กรณีที่เป็นรถเกียร์อัติโนมัติ ให้ปฎิบัติตามคำแนะนำดังนี้

– เนื่องจากรถที่ใช้เกียร์ออโตเมติกจะไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกับรถที่ใช้เกียร์ธรรมดาได้ ดังนั้นการจัดเตรียมหาสายพ่วงแบตเตอรี่เก็บไว้ในรถสามารถใช้ประโยชน์ในกรณีฉุกเฉินได้

  1. เมื่อยางแตก

เมื่อยางข้างใดข้างหนึ่งแตก รถจะเกิดอาการเสียการทรงตัว ให้พยายามฝืนพวงมาลัยไว้ในตำแหน่งวิ่งทางตรง ลดความเร็วโดยถอนคันเร่งแล้วค่อยๆเปลี่ยนเกียร์ต่ำลงอย่างช้าๆ จนสามารถชะลอรถเข้าสู่ข้างทาง แล้วค่อยใช้เบรคมือช่วยจนจอดสนิท การหักพวงมาลัยคืนอย่างรุนแรง , การเหยียบเบรกทันทีทันใด จะทำให้รถเสียการทรงตัวหรือพลิกคว่ำได้

  1. เมื่อเครื่องยนต์มีความร้อนสูงผิดปกติ

เครื่องยนต์จะเริ่มมีอาการไม่มีกำลัง เมื่อถอนคันเร่งอาจดับหรือสั่นผิดปกติ มีกลื่นไหม้ หรือมีควันหรือมีเสียงน้ำเดือดออกมาจากเครื่องยนต์ เกจวัดความร้อนชี้บอกอุณหภูมิสูงจนถึงขีดแดง ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำเด็ดขาด เพราะแรงดันของไอน้ำเดือดภายในหม้อจะพุ่งออกมาอย่างรุนแรง และทำให้เกิดการบาดเจ็บจากความร้อนอย่างรุนแรงได้ ฉะนั้นเมื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ให้ปล่อยเครื่องยนต์ทิ้งไว้จนกระทั่งเครื่องยนต์เย็นลง ค่อยๆเปิดฝาหม้อน้ำออกแล้วค่อยๆเติมน้ำลงในหม้อจนเต็ม ก่อนที่จะทดลองติดเครื่องยนต์

หมายเหตุ หากติดเครื่องยนต์แล้วเครื่องยนต์มีอาการผิดปกติ เช่น มีแรงดันอากาศอัดออกทางหม้อน้ำ หรือมีน้ำรั่วไหลออกจากเครื่องยนต์หรือเครื่องยนต์มีอาการหรือเสียงผิดปกติ แสดงว่าเครื่องยนต์มีการชำรุดเสียหาย เช่น ฝาสูบโก่ง,ปะเก็นฝาสูบ แตกหรือลูกสูบและกระบอกสูบเสียหายจากความร้อน ดังนั้นควรนำรถเข้าศูนย์บริการมิตซูมิชิเพื่อตรวจสอบต่อไป

  1. เมื่อเบรคแตก

ให้พยายามบังคับพวงมาลัยไว้ในตำแหน่งวิ่งทางตรง ลดความเร็วโดยการถอนคันเร่งแล้วค่อยเปลี่ยนเกียร์ต่ำลงทีละเกียร์อย่างช้าๆจนชะลอเข้าสู่ข้างทางแล้วค่อยใช้เบรกมือช่วยจนจอดสนิท หากฉุกเฉินหรือจำเป็นจริงๆ การค่อยๆเบียดรถเข้ากับฟุตบาทหรือกองทรายกองดินจะช่วยลดความเร็วลงได้มาก

ข้อแนะนำในการดูแลรักษารถยนต์

  1. สายพานหน้าเครื่อง

ทำหน้าที่ส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังระบบผลิตกระแสไฟฟ้า (ไดชาร์จ) ระบบพวงมาลัย ระบบแอร์ ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ทุกครั้งที่ เข้าเช็คที่ศูนย์บริการมิตซูบิชิ พนักงานช่างจะ ตรวจสอบสภาพสายพานหน้าเครื่อง และปรับตั้ง ความตึงให้ได้ค่ามาตรฐานทุกครั้ง

ข้อสังเกตุ เมื่อสายพานหน้าเครื่องชำรุด จะมี เสียงดัง (เสียดสี) ภายในห้องเครื่องยนต์ ควรรีบติดต่อศูนย์บริการเพื่อตรวจสอบและ เปลี่ยนทันที

  1. สายพานไทม์มิ่ง

ระบบไทม์มิ่ง ทำหน้าที่ส่งกำลังจากเพลาข้อเหวี่ยง ไปขับเคลื่อนเพลาลูกเบี้ยวหากไม่เปลี่ยนสายพาน ไทม์มิ่งเมื่อถึงกำหนด อาจจะส่งผลให้สายพาน ไทม์มิ่งขาด ทำให้เกิดความเสียหายกับวาล์วหรือ ลูกสูบได้ การเปลี่ยนชุดไทม์มิ่งด้วยอะไหล่แท้มิตซูบิชิ ทำให้ ท่านมั่นใจถึงงอายุการใช้งานที่แน่นอนแนะนำให้เปลี่ยนปั้มน้ำพร้อมกับชุดไทม์มิ่งเพื่อความมั่นใจในการขับขี่เพราะหากปั้มน้ำรั่วจะเป็นสาเหตุให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงเกิน (Over Heat) และ ฝาสูบโก่งได้

  1. ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาเครื่องยนต์

3.1 น้ำยาล้างหัวฉีด ออกแบบมาให้เหมาะสมกับรถยนต์มิตซูบิชิมากที่สุด ช่วยแก้ปัญหาเครื่องสะดุด,เดินไม่เรียบ, ระบบเชื้อเพลิงสะอาด, เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ และอัตราเร่ง, ช่วยป้องกันปัญหาเครื่องยนต์น็อค และประหยัดน้ำมัน

3.2 สารเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์ มีส่วนผสม ของ MoDTC (สารเคลือบผิว) ส่งผลให้อัตราเร่ง และกำลังของเครื่องยนต์ดีขึ้น ประหยัดน้ำมัน ลดเสียงของเครื่องยนต์ ปกป้องการสึกหรอ และ ลดเขม่าเครื่องยนต์

3.3 น้ำยาทำความสะอาดเครื่องยนต์ ช่วยให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่าย เครื่องเดินเรียบ เสียงเครื่องเบาลง เร่งแรงเต็มประสิทธิภาพให้ แรงบิดดีขึ้นในรอบสูง

3.4 น้ำยาหม้อน้ำรถยนต์ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อน ป้องกัน ไม่ให้เครื่องยนต์ร้องัด ลดการเกิดสนิมในระบบ หล่อเย็น ไม่เป็นอัตรายต่อชิ้นส่วนที่เป็นยางและ ประเก็นต่างๆ

  1. หัวเทียน

หัวเทียนเมื่อผ่านการใช้งานไปสักระยะหนึ่ง บริเวณ เขี้ยวหัวเทียนจะค่อยๆ สึกหรอ เปลือกห่อหุ้มหัวเทียน อาจแตกร้าว ส่งผลให้กระแสไฟรั่ว ประสิทธิภาพ การจุดระเบิดลดลง เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ และ กินน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าปกติ

  1. ระบบกรองอากาศ

5.1 กรองอากาศเครื่องยนต์ ทำหน้าทีดักจับฝุ่นละอองก่อนเข้าสู่เครื่องยนต์ หากกรองอากาศอุดตันจะทำให้อากาศไม่เพียงพอต่อความต้องการของเครื่องยนต์ ส่งผลให้กำลัง เครื่องยนต์ตก อัตราเร่งลดลง และสิ้นเปลือง น้ำมันมากขึ้น หากใช้กรองอากาศที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจสร้างความเสียหายภายในเครื่องยนต์ได้

5.2 กรองอากาศแอร์ ช่วยดักจับฝุ่นละอองที่จะเข้าไปในระบบแอร์ ส่งผล ให้เกิดการอุดตันที่ตู้แอร์ และประสิทธิภาพระบบ ปรับอากาศลดลง

  1. ระบบเบรก

ในปัจจุบันรถยนต์ทั่วไปจะมีระบบเบรคที่เป็นระบบ ABS (Anti Locked Break System) ติดตั้งมาด้วย ซึ่งระบบ ABS จะช่วยเสริมคามปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ได้มากขึ้นเมื่อมีการหยุดรถอย่างกะทันหัน

ข้อสังเกต เมื่อสัญญาณไฟเตือนระบบเบรกติดขึ้น อาจเกิดสิ่งผิดปกติกับระบบเบรก เช่น น้ำมันเบรกอยู่ในระดับต่ำเกินไป, มีความผิดปกติกับระบบ ABS หรือดึงเบรกมือค้างอยู่ หากไม่สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ ควรนำรถเข้าตรวจสอบที่ศูนย์บริการมิตซูบิชิโดยเร็วที่สุด

ขอแนะนำ น้ำมันเบรกประสิทธิภาพสูงของ Mitsubishi Break Fluid ช่วยส่งผ่านแรงดัน ไฮดรอลิคไปยังดิสเบรกหรือดรัมเบรกอย่างมี ประสิทธิภาพ ทนความร้องสูง ส่งผลให้ไม่เกิด ความชื้นในระบบเบรก และยืดอายุการใช้งาน ชิ้นส่วนในระบบเบรก

  1. ระบบแอร์

ตู้แอร์รถยนต์ที่ใช้งานเกินหนึ่งปีจะเริ่มมีสิ่งสกปรกทำให้ประสิทธิภาพของแรงลมลดลง และเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคการทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างระบบปรับอากาศภายในรถยนต์ จะทำให้อุณหภูมิ เย็นสม่ำเสมอและอากาศสดชื่น

  1. ปัดน้ำฝน

ระบบปัดน้ำฝนช่วยเพิ่มทัศนวิสัย ในการขับขี่ ขณะฝนตก ยางปัด น้ำฝนที่เสื่อมสภาพจาก แสงแดด หรือชำรุด ทำให้ประสิทธิภาพการปัด น้ำฝนไม่เกลี้ยงและอาจทำให้กระจกเป็นรอย

 

 

บริษัท เอเชียวัฒนามอเตอร์ จำกัด